วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

                             
          จากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์คิดค้นและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยให้มีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก นอกจากนี้เมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมากขึ้นในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์  การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน  บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศอย่างไม่หยุดยั้ง   การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนทำให้คุณภาพชีวิตของบุคคล สังคม และประเทศชาติพัฒนายิ่งขึ้น อาทิเช่น
           1. การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลโดยรวม ให้ก้าวหน้า และก้าวทันโลก แม้จะอยู่ในโลกไร้พรมแดน ก็มีคุณภาพที่ดีขึ้น
           2. การสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และองค์ความรู้ ใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ พึ่งตนเองได้ และแก้ปัญหาประเทศได้
           3. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ผลิต โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาช่วยในการสร้าง การพัฒนาสินค้า และบริการแบบใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตด้านความเป็นอยู่ของคนในประเทศให้ดีขึ้น
           4. การศึกษาตลอดชีวิตมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้การศึกษามีความสำคัญมากยิ่ขึ้น โดยเปลี่ยนจากการศึกษาที่เกิดขึ้นเฉพาะวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว เป็นการศึกษาตลอดชีวิต ที่มีความจำเป็น ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น อินเตอร์เน็ต ดาวเทียม เป็นต้น
           5. ด้านอุตสาหกรรมการบริการ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้าไปเชื่อมโยงกับ การบริการมากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของสังคม เช่น ธนาคาร สื่อสารมวลชน การรักษาพยาบาล การท่องเที่ย ด้านการศึกษา ช่วยให้สื่อการเรียนการสอน มีรูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้น
           6. ด้านการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้น เช่น การลดมลภาวะ ด้วยการผลิต ที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด การใช้พลังงานทดแทน เป็นต้น
           7. ด้านการสาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญที่ช่วยสนองความต้องการของบุคคล และชุมชน ทั้งด้านการป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพอนามัย และวิทยาการ ด้วยเครื่องมือ วิธีการที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง
           8. ด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยให้ลดการพึ่งสารเคมี และหันมาพึ่ง สารชีวภาพ และวิธีการทางธรรมชาติมากขึ้น ด้านการเก็บเกี่ยว ต้องใช้เครื่องทุ่นแรง เพื่อช่วยลดความเสียหายระหว่างการเก็บเกี่ยว และช่วยยืดระยะเวลาการเก็บรักษาให้นานขึ้น
ในขณะเดียวกันการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมลดลง ดังนี้
1. การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง กระทบต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม

2.การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง ซึ่งส่งผลให้คุณภาพชีวิต ด้านจิตใจลดต่ำลง เพราะมุ่งแต่ผลประโยชน์ส่วนตน เช่น การใช้อาวุธที่ทันสมัย ทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันเอง การโจรกรรมข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
3. ความหมกมุ่นกับเทคโนโลยีเกินพอดี ทำให้คนเราเหินห่างจากธรรมชาติ เช่น เด็กติดเล่นเกม จนไม่สนใจพ่อแม่ การทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี หรือเครื่องผ่อนแรง จนไม่ใส่ใจต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงาน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันน้อยลง
4. การใช้ชีวิตที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป โดยมุ่งหวังแต่สิ่งอำนวยความสะดวก ทำให้สูญเสียศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง และเกิดความเคยชิน ส่งผลให้มนุษย์ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี
           ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ไปสู่การกินดีอยู่ดีของประชากรโดยส่วนรวมนั้น คือ การมีฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม ดังคำกล่าวที่ว่า ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองเศรษฐกิจ ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองอำนาจ ทั้งนี้ถึงแม้ว่าการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะก้าวล้ำเพียงใดก็ตาม หากไม่เรียนรู้ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าของวัฒนธรรมในสังคมของตนเองแล้ว ย่อมส่งผลให้คนในสังคมขาดสมดุล ดังนั้นการเรียนรู้ทางวิทยาาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาทางด้านสังคม แบบบูรณาการร่วมกันแล้ว ย่อมส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ พัฒนาไปอย่างยั่งยืน
อ้างอิงจาก....


2 ความคิดเห็น:

  1. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
    แนวคิดการพัฒนาชุมชนในอดีต มีความเชื่อเบื้องต้นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทของ
    ประเทศยังล้าหลัง ด้อยการศึกษา ขาดจิตสํานึกในการพัฒนาท้องถิ่น มีฐานะยากจน และขาดแคลน
    ปจัจยัต่าง ๆ ทจ่ีาํ เป็นต่อการดาํ รงชพี ภาครัฐจึงจําเป็นจะต้องผลักดันนโยบายและทรัพยากร ตั้งแต่
    ทิศทางการพัฒนา วิธีการทํางาน ความรู้ การบริหารจัดการ ฯลฯ เข้าไปสู่ชุมชนในลักษณะของการ
    พัฒนาจากบนลงล่าง (Top Down) ทั้งที่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะประชาชนส่วน
    ใหญ่ในชนบทเป็นผู้มีความคิด มีความรู้ มีประสบการณ์ มีจิตสํานึกในการพัฒนาชุมชนและสามารถ
    พึ่งพาตนเองได้แล้วในระดับหนึ่ง การพัฒนาชุมชนตามแนวทางของรัฐในอดีตจึงมิอาจตอบสนองต่อ
    ความต้องการและความจําเป็นที่แท้จริงของชุมชนได้ หลายครั้งหลายคราวที่พบว่าการพัฒนาชุมชนที่
    ภาครัฐเป็นผู้คิดแทนและกําหนดทิศทางไว้แล้วนั้นเป็นไปอย่างสูญเปล่า เนื่องจากหลงลืมไปว่าในการ
    พัฒนาชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ผู้ที่สามารถตอบได้ดีที่สุดว่าชุมชนมีปญั หาหรอืมความต้องการอะไรก็คือ ี
    คนในชุมชนนั้นนั่นเอง

    ตอบลบ
  2. แนวคิดในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
    แนวคิดการพัฒนาชุมชนในอดีต มีความเชื่อเบื้องต้นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทของ
    ประเทศยังล้าหลัง ด้อยการศึกษา ขาดจิตสํานึกในการพัฒนาท้องถิ่น มีฐานะยากจน และขาดแคลน
    ปจัจยัต่าง ๆ ทจ่ีาํ เป็นต่อการดาํ รงชพี ภาครัฐจึงจําเป็นจะต้องผลักดันนโยบายและทรัพยากร ตั้งแต่
    ทิศทางการพัฒนา วิธีการทํางาน ความรู้ การบริหารจัดการ ฯลฯ เข้าไปสู่ชุมชนในลักษณะของการ
    พัฒนาจากบนลงล่าง (Top Down) ทั้งที่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะประชาชนส่วน
    ใหญ่ในชนบทเป็นผู้มีความคิด มีความรู้ มีประสบการณ์ มีจิตสํานึกในการพัฒนาชุมชนและสามารถ
    พึ่งพาตนเองได้แล้วในระดับหนึ่ง การพัฒนาชุมชนตามแนวทางของรัฐในอดีตจึงมิอาจตอบสนองต่อ
    ความต้องการและความจําเป็นที่แท้จริงของชุมชนได้ หลายครั้งหลายคราวที่พบว่าการพัฒนาชุมชนที่
    ภาครัฐเป็นผู้คิดแทนและกําหนดทิศทางไว้แล้วนั้นเป็นไปอย่างสูญเปล่า เนื่องจากหลงลืมไปว่าในการ
    พัฒนาชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ผู้ที่สามารถตอบได้ดีที่สุดว่าชุมชนมีปญั หาหรอืมความต้องการอะไรก็คือ ี
    คนในชุมชนนั้นนั่นเอง

    ตอบลบ